อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
ข้อมูลพื้นฐาน

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
1. ด้านกายภาพ
   1.1 ที่ตั้ง
     องค์การบริหารส่วนตำบลไทรโสภา ตั้งอยู่ที่บ้านบนควน หมู่ที่ 2 ตำบลไทรโสภา อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ห่างจากอำเภอพระแสงประมาณ 20 กิโลเมตร ห่างจากตัวจังหวัดสุราษฎร์ธานีประมาณ
     100 กิโลเมตร องค์การบริหารส่วนตำบลไทรโสภามีเนื้อที่โดยประมาณ 98 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 3,700 ไร่      อาณาเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไทรโสภา
       - ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลพ่วงพรมคร อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และติดต่อกับ ตำบลบ้านเสด็จ อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
       - ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลไทรขึง อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี และติดต่อกับ ตำบลคลองน้อย อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
       - ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลไทรขึง อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
       - ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลบางสวรรค์ อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
   1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
     สภาพภูมิประเทศของตำบลไทรโสภา ส่วนใหญ่เป็นที่สูง สลับกับที่ราบ สภาพพื้นที่เหมาะแก่การเพาะปลูกและทำการเกษตร
   1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
     ตำบลไทรโสภามีลักษณะร้อนชื้น มีสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล ประกอบด้วย 2 ฤดู คือ
      - ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน ถึง กลางเดือนพฤษภาคม อากาศจะร้อนและแห้งแล้ง
      - ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม ถึง ต้นเดือนกรกฎาคม
   1.4 ลักษณะของดิน
     สภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย เหมาะแก่การปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่นปาล์มน้ำมัน ยางพาราและผลไม้หลากหลายชนิด
   1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ
     มีแหล่งน้ำธรรมชาติ คือ คลองอิปันไหลผ่าน จำนวน 6 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 7 และมีแหล่งน้ำอื่น ๆ
       - สวนน้ำ อ่างน้ำร้อนประชารัฐ 1 แห่ง
       - ลำคลอง 1 สาย
       - ลำน้ำ,ลำห้วย 10 สาย
       - บึง,หนอง และอื่น ๆ 9 แห่ง
       - ฝาย 7 แห่ง
       - บ่อน้ำตื้น 48 แห่ง
       - สระเก็บน้ำ 13 แห่ง
       - ประปาหมู่บ้าน 22 แห่ง
       - บ่อบาดาล 20 แห่ง
       - อ่างเก็บน้ำ 2 แห่ง
2. ด้านการเมือง/การปกครอง
   2.1 เขตการปกครอง
     ตำบลไทรโสภามีจำนวนหมู่บ้าน 8 หมู่บ้าน โดยอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไทรโสภาเต็มพื้นที่ 8 หมู่บ้าน คือ
       หมู่ที่ 1 บ้านประตูพลิก
       หมู่ที่ 2 บ้านบนควน
       หมู่ที่ 3 บ้านบางพา
       หมู่ที่ 4 บ้านต้นไทร
       หมู่ที่ 5 บ้านย่านตะเคียน
       หมู่ที่ 6 บ้านราษฎร์พัฒนา
       หมู่ที่ 7 บ้านควนโชคชัย
       หมู่ที่ 8 บ้านคลองกลาง
3. ประชากร
   3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับประชากร
     ตำบลไทรโสภา มีประชากรทั้งสิ้น 6,125 คน แยกเป็น ชาย 3,116 คน หญิง 3,009 คน
4. สภาพทางสังคม
   4.1 การศึกษา
       - โรงเรียนประถมศึกษา 3 แห่ง (ขยายโอกาส 1 แห่ง)
       - โรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง
       - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ศพด.) 3 แห่ง
   4.2 สาธารณสุข
       - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 1 แห่ง
       - อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 125 คน
       - อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำร้อยละ 100
   4.3 อาชญากรรม
       - ในพื้นที่ตำบลไทรโสภาไม่พบสถิติการก่อเหตุอาชญากรรมในช่วงปีที่ผ่านมา
       - มีที่พักสายตรวจ สภอ.พระแสง(หน่วยบริการประชาชนตำบลไทรโสภา) จำนวน 1 แห่ง
       - ป้อมรักษาความปลอดภัยในหมู่บ้าน จำนวน 4 แห่ง
   4.5 การสังคมสงเคราะห์
       - มีการจัดสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เบี้ยยังชีพความพิการ และเบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์ ซึ่งมีผู้สูงอายุ จำนวน 715 คน ผู้พิการ จำนวน 127 ราย และผู้ป่วยเอดส์ จำนวน 7 ราย
       - การสมทบกองทุนสวัสดิการชุมชน จำนวนสมาชิก 214 คน เป็นเงิน 20,000 บาท
       - การสมทบกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ไทรโสภา เป็นเงิน 150,000 บาท
5. ระบบบริการพื้นฐาน
   5.1 การคมนาคมขนส่ง
     ถนนในเขตพื้นที่ตำบลไทรโสภา จำนวน 56 สาย
   5.2 การไฟฟ้า
     ตำบลไทรโสภามีไฟฟ้าใช้ทั้ง 8 หมู่บ้าน ครบทุกครัวเรือน แต่การใช้ไฟฟ้าบางครัวเรือนมีการลากพ่วงจากครัวเรือนอื่น
   5.3 การประปา
     มีประปาหมู่บ้านจำนวน 8 หมู่บ้าน 22 จุด
   5.4 โทรศัพท์
     มีสัญญาณโทรศัพท์ สัญญาณอินเตอร์เน็ตสามารถติดต่อได้ทุกหมู่บ้าน
   5.5 ระบบโลจิสติกส์ (Logistics) หรือการขนส่ง
     ตำบลไทรโสภา มีถนนทางหลวงสายที่ 4009 สุราษฎร์-กระบี่ และถนนทางหลวงสายที่ 44 เซาร์เทิร์นซีบอดร์ด ตัดผ่านจากขนอมจังหวัดกระบี่
6. ระบบเศรษฐกิจ
   6.1 การเกษตร
     ประชากรในตำบลไทรโสภาส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร เช่นทำสวนยางพารา ปาล์มน้ำมันและผลไม้ และมีอาชีพรองในการรับจ้าง ค้าขาย และอื่น ๆ ตามสัดส่วนคือ ทำสวนยางพารา 53%
     ทำสวนปาล์มน้ำมัน 30% ทำสวนผลไม้ 5 % อาชีพรับจ้าง 5% อาชีพค้าขาย 5% และอาชีพอื่น ๆ 2 %
   6.2 การประมง
     การเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืดจำหน่าย ปลาดุก ปลากด
   6.3 การปศุสัตว์
     ตำบลไทรโสภา ประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ เช่น โค กระบือ ไก่ เป็ด และสุกร
   6.4 การบริการ
     มีบริการเคาเตอร์เซอวิส 1 แห่ง
   6.5 การท่องเที่ยว
     ตำบลไทรโสภามีสถานที่ท่องเที่ยว
       - สวนน้ำ อ่างน้ำร้อนประชารัฐ
       - น้ำตกโตนนาคราช
   6.6 อุตสาหกรรม
       - มีบริษัทซันสิริ จำกัด สาขา 2 (โรงงานไม้ยาง) จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 5
       - โรงรมยางแผ่น 1 แห่ง
       - โรงกลั่นน้ำหอม 1 แห่ง
   6.7 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพการพาณิชย์
       - ปั้มน้ำมัน 3 แห่ง
       - ร้านค้าของชำ 60 แห่ง
       - ร้านขายของการเกษตร 3 แห่ง
       - ลานเทรับซื้อปาล์ม 8 แห่ง
       - อู่ซ่อมรถยนต์ 3 แห่ง
       - ร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ 11 แห่ง
       - ร้านรับซื้อยางแผ่น/เศษยาง/น้ำยางสด 29 แห่ง
       - คาร์แคร์ 1 แห่ง
       - ร้านเสริมสวย 4 แห่ง
       - คลินิก 3 แห่ง
       - ร้านตัดผมชาย 5 แห่ง
       - ร้ายขายเครื่องเขียน 1 แห่ง
       - ร้านขายรองเท้า เสื้อผ้า/ขายเครื่องประดับ 2 แห่ง        กลุ่มอาชีพ
       - กลุ่มเกษตรกรทำสวนไทรโสภา 1 กลุ่ม
       - กลุ่มปาล์มน้ำมัน 1 กลุ่ม
       - กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร 6 กลุ่ม
   6.8 แรงงาน
7. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
   7.1 การนับถือศาสนา
     คนในพื้นที่โดยทั่วนับถือศาสนาพุทธ และมีประเพณีที่สืบทอดกันมาโดยทั่วไปจะคล้ายกันกับที่อื่นๆคือในเรื่องของประเพณีสารทเดือนสิบประเพณีลอยกระทง ประเพณีสงกรานต์ และมีศิลปวัฒนธรรมคือ
     กลองยาว และมโนราห์
   7.2 ประเพณีและงานประจำปี
       - ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ เดือน มกราคม
       - งานวันเด็กแห่งชาติ เดือน มกราคม
       - งานแข่งขันกีฬาสร้างความสามัคคี ส่งเสริมสุขภาพไทรโสภาเกมส์ เดือน มีนาคม - เมษายน
       - ประเพณีวันผู้สูงอายุ เดือน เมษายน
       - ประเพณีวันเข้าพรรษา เดือน กรกฎาคม
       - ประเพณีวันสารทเดือนสิบ เดือน ตุลาคม
8. ทรัพยากรธรรมชาติ
   8.1 น้ำ
       - น้ำตก 1 แห่ง (สวนน้ำ อ่างน้ำร้อนประชารัฐ)
       - ลำคลอง 1 สาย
       - ลำน้ำ,ลำห้วย 10 สาย
       - บึง , หนอง และอื่น ๆ 9 แห่ง
       - ฝาย 7 แห่ง
       - บ่อน้ำตื้น 48 แห่ง
       - สระเก็บน้ำ 13 แห่ง
       - ประปาหมู่บ้าน 22 แห่ง
       - อ่างเก็บน้ำ 2 แห่ง
       - บ่อบาดาล 20 แห่ง
   8.2 ป่าไม้
     พื้นที่ส่วนใหญ่ในตำบลไทรโสภาเป็นพื้นที่ทางการเกษตร ทำสวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน และสวนผลไม้
   8.4 ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
       - สวนน้ำ อ่างน้ำร้อนประชารัฐ
       - น้ำตกโตนนาคราช
9. อื่น ๆ
       - อาสาสมัครป้องกันฝ่ายพลเรือน (อปพร.) จำนวน 168 คน
       - อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 8 กลุ่ม
       - คณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน (กพสม) จำนวน 8 กลุ่ม
       - คณะกรรมการพัฒนาสตรีตำบล (กพสต) จำนวน 1 กลุ่ม
       - คณะกรรมการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จำนวน 8 กลุ่ม
       - ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน จำนวน 8 ชุด
       - กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จำนวน 8 กองทุน
       - กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 1 กลุ่ม
       - สภาเด็กและเยาวชน จำนวน 1 กลุ่ม
       - กองทุนสวัสดิการสังคม จำนวน 1 กลุ่ม
       - กลุ่มอาชีพ จำนวน 8 กลุ่ม
       - กลุ่มออมทรัพย์ จำนวน 8 กลุ่ม
       - กลุ่มเยาวชน จำนวน 1 กลุ่ม
       - กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 1 กลุ่ม
       - กลุ่มสตรี จำนวน 8 กลุ่ม
       - กลุ่มคนพิการ จำนวน 1 กลุ่ม
       - กลุ่มส่งเสริมการทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยชีวภาพ จำนวน 1 กลุ่ม
       - กลุ่มมโนราห์ จำนวน 2 กลุ่ม
       - กลุ่มกลองยาว จำนวน 2 กลุ่ม
       - สภาองค์กรชุมชน ตำบลไทรโสภา จำนวน 1 แห่ง

ตำบลไทรโสภา ตำบลไทรโสภาได้แยกมาจาก ตำบลไทรขึงเมื่อ เดือนสิงหาคม 2524 มีนายสมพร เลิศไกร เป็นกำนันคนแรกของตำบลไทรโสภา คำว่า”ไทรโสภา” มีประวัติมาจากชุมชนดั่งเดิมบ้านไทรโสภา มีต้นไทรขนาดใหญ่ 1 ต้น ขึ้นอยู่ริมฝั่งคลองอิปัน มีลำต้นและกิ่งที่สวยงาม คนเก่าแก่ ไม่มีใครกล้าตัดต้นไทรเพราะคนในสมัยโบราณนับถือเซ่นไหว้
วิสัยทัศน์
“คุณภาพชีวิตได้รับการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานครอบคลุมทุกพื้นที่ บริหารจัดการน้ำและเศรษฐกิจที่ดี มีสิ่งแวดล้อมสวยงาม”
ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาด้านการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี